Posted on มิถุนายน 5, 2018 พฤษภาคม 31, 2019 by มณฑ์ณภัค กุณช์อธิรัชย์ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) กับสุขภาพ หลายคนอาจจะคุ้นหูกันดีว่า “คอเลสเตอรอลสูง” นั้นไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของเราเท่าไหร่ แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลนั้นคืออะไร ทำไมถึงมีอิทธิพลต่อสุขภาพของเราอย่างเหลือร้าย วันนี้เราจะมาอธิบายว่า “คอเลสเตอรอลสูง” ที่หลายๆคนได้ยินมาคืออะไร รวมถึงวิธีการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากภาวะคอลเลสตอรอลสูงมาฝากค่ะ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คืออะไร? คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเรา อีกทั้งยังเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์น้ำดีที่มีส่วนย่อยไขมันที่เรากินเข้าไป อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการผลิตสารจำพวกสเตียรอยด์ฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนที่ควบคุมระบบเกลือแร่ และการทำงานของไต อีกด้วย และยังเป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ของอวัยะต่างๆในร่างกาย รวมถึงมีอยู่ในสมองของเราด้วย แม้ว่าคอเลสเตอรอลจะส่งผลดีต่อร่างกายของเรา แต่ถ้ามีมากจนเกินไป ก็จะกลายเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ เพราะเจ้าไขมันเหล่านี้จะไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดง และเกาะหนาขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้โพรงหลอดเลือดแดงแคบลง ก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน และเลือดไม่สามารถเดินทางไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายได้เพียงพอ คอเลสเตอรอล มาจากอะไร? หลายคนอาจจะคิดว่า คอเลสเตอรอลในร่างกายที่มีมาจาก “อาหาร” อย่างเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงนั้น ร่างกายของเรามีการสร้าง คอเลสเตอรอล ขึ้นมาเอง อวัยวะที่มีหน้าที่สร้างไขมันชนิดนี้ก็คือ “ตับ” นั่นเองค่ะ เนื่องจาก คอเลสเตอรอลคือไขมันที่ไม่สามารถละลายในน้ำได้ ก่อนที่ร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์จึงจะต้องมีการรวมตัวเข้ากับโปรตีนที่มีชื่อว่า อะโพโปรตีน (apoprotein) เพื่อเปลี่ยนไขมันส่วนนี้ให้เป็น ไลโพโปรตีน (lipoprotein) ก่อน จากนั้นคอเลสเตอรอลที่อยู่ในรูปแบบของ ไลโพโปรตีน (lipoprotein) จะถูกดูดซึมเข้าร่างกายต่อไป คอเลสเตอรอล ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง คอเลสเตอรอลจะส่งผลต่อร่างกายอยู่ 2 สภาวะ ได้แก่ ภาวะร่างกายมีคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ และ ภาวะร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งทั้ง 2 สภาวะนี้จะส่งผลแก่ร่างกายที่แตกต่างกันออกไป 1.ภาวะร่างกายมีคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ แม้ว่าภาวะคอเลสเตอรอลสูง จะเป็นภาวะที่หลายๆคนวิตกกังวล แต่รู้หรือไม่คะว่า ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำก็ส่งผลร้ายกับร่างกายของเราได้เช่นกัน นั่นก็เพราะว่า • คอเลสเตอรอลเป็นสารที่จำเป็นต่อระบบประสาท เป็นอาหารสมอง หากขาดไปย่อมส่งผลเสียต่อสมองของเราแน่ๆ • คนที่มีระดับคอเลสเตอรอล 200 – 225 มีอายุยืนกว่า ผู้ที่มีระดับคอเลเตอรอลที่ 150 – 200 • คนที่มีระดับคอเลสเตอรอลต่ำ(มากจนเกินไป) มักมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคมะเร็ง และโรคร้ายแรงอื่นๆ • ร่างกายที่มีการลดระดับคอเลสเตอรอลเร็วจนเกินไป อาจจะส่งผลให้คนๆนั้นเกิดภาวะคิดค่าตัวตายได้ 2. ภาวะร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูง • หากร่างกายของเรามีคอเลสเตอรอลที่สูงมากจนเกินไป จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดคราบไขมันสะสมที่หลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้ • เมื่อเกิดภาวะหลอดเลือดตีบ จะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ • เสี่ยงต่อภาวะเส้นเลือดสมองอุดตัน หรือเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตกได้ อาการที่ตามมาจากภาวะหลอดเลือดในสมองแตก ก็คือ ร่างกายสูญเสียการทรงตัว อาจทำให้กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือพาร์คินสันได้ แต่หากเกิดขึ้นกับสมองในส่วนรับรู้ อาจจะทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์(ภาวะความจำเสื่อม) ได้ • เสี่ยงต่อการคั่งของไขมัน ส่งผลให้ตับทำงานช้าลง หรือเกิดภาวะไขมันพอกตับ (fatty liver) ได้ ภาวะนี้ส่งผลทำให้ตับหรือไตสูญเสียการทำงาน อาจส่งผลให้ตับวาย หรือเสียชีวิตได้ • ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ยังส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีความเสี่ยงทางด้านพันธุกรรมหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ตับทำงานสร้างคอเรสตอรอลมากกว่าปกติอีกด้วย จากที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่จะเป็นสัญญาณว่าคุณถึงเวลาต้องลดคอเลสเตอรอลหรือยัง คือผลการตรวจร่างกายประจำปี ของคุณนั่นเองค่ะ และวิธีการป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ดีที่สุด คือ ควรหาเวลาออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน (วันละครึ่งชั่วโมง) เพื่อเพิ่มปริมาณ HDL ในเลือด เพื่อให้ HDL ต่อกรกับไตรกลีเซอร์ไรด์อย่างได้ผลดีที่สุด FacebookTwitterLine เมนูนำทาง เรื่องPrevious post: 15 สรรพคุณ…ประโยชน์ของทุเรียน กินพอดีได้ประโยชน์ กินมากได้โทษNext post: 5 วิธีเผาผลาญไขมันในที่ทำงาน