เรารู้หรือไม่ว่า อาหารบางประเภทมีความเค็มแฝงตัวอยู่มากกว่าที่เราคิด สถาบันโรคหัวใจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้กำหนดว่าร่างกายของเรารับระดับโซเดียมได้ไม่ควรเกิน 1,500 – 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน หากเราต้องการลดอาหารประเภทโซเดียมที่รับประทานในแต่ละวัน เราควรตรวจสอบสิ่งที่เรารับประทาน ซึ่งเราอาจแปลกใจที่ว่าอาหารบางประเภทนั้นมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าที่เราคิดมาก
1. อาหารเย็นแช่แข็ง อาหารประเภทนี้ ง่ายต่อการรับประทาน โดยเฉพาะแม่บ้านสมัยใหม่ เพราะเพียงแค่ใส่เข้าไมโครเวฟ เพียงไม่กี่นาที แต่เราหารู้ไม่ว่าปริมาณของเกลือที่อยู่ในอาหารแช่แข็งจะมีมากถึง 1,250 มิลลิกรัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีน้ำแกงหรือเครื่องปรุงผสมอยู่ ดังนั้น ควรอ่านฉลากก่อนซื้อมารับประทาน
2. อาหารเช้าที่ทำสำเร็จรูป ประเภทซีเรียล ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งที่ควรระวัง บางยี่ห้ออาจมีผลไม้หรือลูกเกดผสม ซึ่งอาจมีปริมาณโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกาย เราควรเลือกอาหารเช้าประเภทข้าวสาลีหรือเลือกซีเรียลที่ข้างกล่องเขียนว่าปราศจากเกลือ
3. น้ำผลไม้ปั่นบางประเภท ผู้ปรุงอาจใส่ปริมาณเกลือที่มากเกินไปหรือน้ำผักปั่นที่อาจมีประมาณเกลือแร่ถึง 6.5 มิลลิกรัม
4. อาหารกระป๋อง อาหารเครื่องกระป๋องประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำเกลือผสมอยู่มากเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเน่าเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไส้กรอก เครื่องกระป๋องประเภทผัก แครอท ข้าวโพด หรือทูน่า ดังนั้น จึงควรระวังก่อนรับประทานควรเทน้ำออกจากกระป๋องก่อนเพื่อลดปริมาณโซเดียม
5. อาหารแพ็ก สำเร็จรูปประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อเค็ม ปลาหมึกเส้น อาหารประเภทนี้อาจมีประมาณโซเดียมถึง 362 มิลลิกรัมเลยทีเดียว
6. ซุปหรือแกงต่างๆ ซุป แกง และของเหลวต่างๆ ที่เรารับประทานเป็นถ้วยอาจมีปริมาณเกลือที่ผสมอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสำหรับผู้ป่วยที่ทำสำเร็จในกระป๋อง มีปริมาณเกลือหรือโซเดียมถึง 831 มิลลิกรัม
7. น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ ซอสปรุงรสที่ใช้หมักอาหารเนื้อต่างๆมักมีบริมาณโซเดียมมากถึง 879 ถึง 1005มิลลิกรัม ดังนั้น จึงควรระมัดระวัง ควรเลือกน้ำส้มสายชู น้ำมะนาวในการปรุงรสต่างๆ เพื่อลดปริมาณเกลือ หรือใช้น้ำส้ม น้ำสับปะรดแทนในการหมักเนื้อสัตว์ เรารู้หรือไม่ว่าซอสปรุงรส เครื่องปรุงแกงกระป๋องต่างๆ หรือซอสสปาเกตตี้ แค่ครึ่งถ้วยมีบริมาณเกลือถึง 577 มิลลิกรัม ยังไม่รวมเส้นที่จะต้มทานอีกต่างหาก ดังนั้น ควรเลือกที่ฉลากเขียนว่า ปราศจากโซเดียม
8. เครื่องปรุงรสก๋วยเตี๋ยว ไม่ว่าจะเป็นพริก เกลือ น้ำปลา ฯลฯ ที่อยู่ในเครื่องปรุงแยกต่างหากจากเส้นก๋วยเตี๋ยว อาจมีปริมาณโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกาย
9. ถั่วกระป๋อง บางคนชอบทานถั่วต่างๆ เป็นอาหารว่าง ดังนั้น จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะถั่วที่อยู่ในกระป๋องมักมีปริมาณโซเดียมผสมอยู่มาก
10. ของว่าง เช่นมันฝรั่ง พาย ถั่วต้ม ขนมปังกรอบ อาจมีปริมาณเกลือโซเดียมถึง 253 มิลลิกรัม ของกรุบกรอบบางอย่างมีปริมาณเกลือค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
อาหารที่เรารับประทานอาจมีปริมาณเกลือที่แอบแฝงอยู่เป็นจำนวนมากโดยที่เราคาดไม่ถึง ดังนั้น ควรอ่านฉลากก่อนรับประทานทุกครั้งเพื่อช่วยให้เราเลือกอาหารที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายได้ มารักษาสุขภาพเพื่อให้ร่างกายของเราแข็งแรงไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บกันดีกว่าค่ะ