ผู้เขียน: มณฑ์ณภัค กุณช์อธิรัชย์
คุณอ้วนแบบไหน? ละมาดูว่าแต่ละแบบนั้นหมายความว่าอย่างไร?
หลายคนคงมีปัญหาเกี่ยวกับ หน้าท้อง หรือพุง ที่ยื่นออกมา แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งเหมารวมว่าอ้วน เพราะว่าทานเยอะอย่างเดียว วันนี้มาดูกันว่าความอ้วนแต่ละแบบนั้น บอกอะไร เราไปดูกันเลย
1. Obesity of food โรคอ้วนจากอาหารชนิดที่พบมากของโรคอ้วน ในโลก คือโรคอ้วนจากอาหาร มันเกิดขึ้นกับการรับประทานอาหารและ น้ำตาล มากเกินไป
2. Obesity “nervous stomach โรคอ้วนจากความวิตกกังวล ความเครียดลงกระเพราะ และภาวะซึมเศร้าเป็นเหตุ
3. Gluten obesity โรคอ้วนจากภูมิแพ้อาหารที่มี Gluten ประเภทขนมปัง และธัญพืช (เบเกอรี่)
4. Atheros Genic โรคอ้วนจากระบบเผาผลาญ อาหารรวมถึง ระบบการหายใจ
5. Obesity due to venous circulation โรคอ้วนเกิดจาก การไหลเวียนของเลือดดำ น่าจะเป็นโรคอ้วน มากที่สุดสืบทอดทางพันธุกรรม มันเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ตั้งครรภ์ หรือคนที่มีขาบวม
6. Obesity of inactivity โรคขี้เกียจ แปลง่ายๆคือ ไม่ชอบออกกำลังกาย ไม่ใช้งานอวัยวะ เลยอ้วนซะเลย
เรื่องราวเพิ่มเติม ตัวช่วย ตอบโจทย์
https://789beauty.com/
❥เดนิมพลัส วันละเม็ด
เผาผลาญแทนออกกำลังกาย
❥ ใช้หลักการ เน้นการเบิร์น Burn และการบล็อค Block โดยทำให้ร่างกายสามารถทำการ Burn ได้ตลอดทั้งวัน โดยทำให้เกิด กระบวนการเมตาบอลิซึม Metabolism ได้ตลอดทั้งวัน ยับยั้งย่อยแป้ง + ดักจับไขมัน แล้วขับถ่ายออก
สังเวชนียสถาน ๔
พระบรมศาสดาจึงนำเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จพุทธดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญญวดีในเมืองกุสินารานคร แล้วเสด็จเข้าไปประทับ ณ สาลวันอุทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ใกล้เมือง กุสินารานคร แคว้นมัลละ โปรดให้พระอานนท์ปูลาดเตียงที่บรรทม ณ ระหว่างไม้รัง ต้นสาละ ทั้งคู่ แล้วเสด็จบรรทมสีหไสยา เป็นการนอนอย่างราชสีห์ คือนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มือซ้ายพาดไปตามลำตัว มือขวาช้อนศีรษะไม่พลิกกลับไปมา มีสติสัมปชัญญะ แต่มิมีอุฏฐานสัญญามนสิการ คือ ไม่มีพุทธประสงค์จะลุกขึ้นอีกต่อไป เนื่องจากเป็นไสยาวสาน คือ นอนครั้งสุดท้ายจึงนิยมเรียกว่า อนุฏฐานไสยา คือนอนโดยไม่ลุกขึ้นอีก
ในเวลานั้น พระอานนท์เถระเจ้าได้กราบทูลว่า
“ในกาลก่อนเมื่อออกพรรษาแล้ว บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายในทิศต่าง ๆ ได้เข้าใกล้ สนทนาปราศัยได้ความเจริญใจ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจักไม่ได้โอกาสอันดีเช่นนั้น เหมือนกับเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่อีกต่อไป”
เมื่อพระอานนท์กราบทูลเช่นนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่า
“อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบลนี้ เป็นสถานที่ควรแก่ความสังเวช เมื่อผู้มีศรัทธาได้ไปยังสถานที่ ๔ แห่งนี้ด้วยความเลื่อมใสเมื่อทำการกิริยา คือ ตายลงแล้ว จักได้ถึงสุคติ ไปเกิดในโลกสวรรค์ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ อันได้แก่
๑. สถานที่พระพุทธองค์ประสูติจากพระครรภ์
๒. สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
๓. สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจักร
๔. สถานที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน
อนึ่ง สังเวชนียสถาน มีความหมายถึง เป็นสถานที่ตั้งแห่งความสังเวช แต่คำว่าสังเวชในทางธรรมนั้น มีความหมายลึกซึ้งกว่าความหมายของคำว่าสังเวชที่พบเห็นกันทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ ในทางธรรมหมายถึง ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ถึงพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ความทุกข์สลดใจ ความยึดมั่นถือมั่นไว้ไม่ได้ ทำให้จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงามเกิดความไม่ประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป จึงจะเรียกว่า สังเวช
๑. สถานที่พระพุทธองค์ทรงมีพระประสูติกาลจากพระครรภ์พระมารดา คือ อุทยานลุมพินี ตั้ง อยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะ กรุงเทวทหะเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาลห่างชายแดนภาคเหนือของประเทศอินเดีย ๖ กิโลเมตรครึ่ง บัดนี้เรียกว่า รุมมินเด
มายาเทวีวิหาร อุทยานสวนลุมพินี – ขอบคุณภาพจาก วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
๒. สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ใต้ร่มไม้พระศรีมหาโพธิ์ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันคือ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ ที่ตำบลพุทธคยา รัฐพิหารประเทศอินเดีย
มหาเจดีย์ที่พุทธคยา–สถานที่ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
๓. สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจักร คือ สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือของเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันนี้เรียกว่า สารนาถพาราณสี บัดนี้เรียกว่า วาราณสี ประเทศอินเดีย
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถพาราณสี–สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร
๔. สถานที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ปัจจุบันนี้เรียก เมืองกาเซีย จังหวัดโครักขปุระ ประเทศอินเดีย
สาลวโนยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ–สถานที่ปรินิพพาน – ขอบคุณภาพจากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
สถานที่ทั้ง ๔ ตำบลนี้แล ควรที่พุทธบริษัท คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้า จะดูจะเห็นและควรจะให้เกิดความสังเวชทั่วกัน”